หลายคนอาจยังไม่รู้จัก WooCommerce ปลั๊กอิน ซึ่งเป็นปลั๊กอินที่ได้รับความนิยมที่สุดในการทำร้านขายของออนไลน์ของ WordPress วันนี้เรามาดูว่า WooCommerce นี้มี functionalities พื้นฐานอะไรมาให้บ้าง
หน้าแสดงรายการสินค้าทั้งหมด (Shop Page)
สำหรับ WooCommerce จะมีหน้า shop มาให้เพื่อใช้เป็น template ในการแสดงสินค้าทั้งหมด ส่วนมากเราจะตั้ง shop page นี้เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ ในหน้า shop นี้ นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถปรับแต่งให้หน้า shop สามารถแสดง Product categories section, Recent products section, Top rated product sections และ On-sale products section ได้
ตัวอย่างหน้า Shop จาก StoreFront theme by WooCommerce team
หน้าแสดงรายการสินค้าแยกตามหมวดหมู่ (Products Category Page)
หน้า Products Category จะแสดงรายการสินค้าทั้งหมด ตามหมวดหมู่ที่เลือก
ตัวอย่างหน้า Clothing Category จาก StoreFront theme by WooCommerce team
หน้าแสดงรายการสินค้าแยกตาม Tags (Product Tags Page)
หน้า Product Tags จะแสดงรายการสินค้าทั้งหมด ตาม Tags ที่เลือก ตัวอย่าง Tags เช่น สีส้ม กระเป๋าพกพา เป็นต้น
ตัวอย่างหน้า Product Tags จาก StoreFront theme by WooCommerce team
หน้าแสดงสินค้าและรายละเอียดสินค้า (Single Product Page)
หน้า Single Product จะเป็นหน้าสินค้ารายชิ้น ในหน้านี้จะแสดงรายละเอียดสินค้าทั้งหมด รวมทั้งราคา และ options ที่ให้เลือกซื้อ เช่น สี และขนาด เป็นต้น นอกจากนี้คุณสามารถให้แสดง Reated products list ในหน้า Single Product ได้ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจการซื้อสินค้าเพิ่ม
ตัวอย่างหน้า Single Product จาก StoreFront theme by WooCommerce team
หน้าตะกร้า (Cart Page)
หน้าตะกร้านักช๊อปปิ้งออนไลน์คุ้นเคยกันดี สำหรับ WooCommerce จะมีหน้าตาพื้นฐานมาให้ หน้าตาแบบข้างล่างนี้เลยค่ะ
ระบบคูปอง (Coupon)
สำหรับ WooCommerce มีระบบคูปองมาให้ คุณสามารถเปิดหรือปิดระบบนี้ได้ที่ WooCommerce ปลั๊กอิน สำหรับคูปอง จะมี 3 โปรโมชั่นให้ใช้คือ ลดเป็นจำนวนเงิน, ลดเป็นเปอร์เซ็น และลดเป็นจำนวนเงินตามสินค้ารายชิ้น หรือคุณจะทำโปรโมชั่นให้ส่งฟรีก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังสามารถกำหนดจำนวนคูปองที่ต้องการเปิดใช้ และวันหมดอายุอีกด้วย
หากคุณสนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการสร้างและใช้งานคูปองได้เลยค่ะ
ระบบขนส่ง (Shipping)
สำหรับ WooCommerce มีหน้า settings ให้คุณกำหนด shipping และการคำนวน shipping ได้เอง โดยคุณต้องเพิ่ม Shipping Zone ก่อน เช่น Shipping zone ของคุณคือ Thailand หลังจากนั้นคุณจะสามารถเลือก Shipping method ได้ โดย WooCommerce มี shipping method มาให้แล้ว 3 methods คือ Flat rate, Free shipping, Local shipping
หากคุณต้องการเพิ่ม Shipping method ของคุณ เช่น Kerry Express คุณต้องให้นักพัฒนาเว็บไซต์สร้างให้ และต้อง integrate การคำนวนราคาขนส่งกับ WooCommerce ให้ด้วย หรือคุณสามารถซื้อ Shipping method plugin ที่ตอบโจทย์คุณ แล้วมาติดตั้งเพิ่มใน WordPress ก็ได้ โดยทั่วไปราคาปลั๊กอินจะเก็บเป็นรายปี
สามารถอ่านการ setting ระบบขนส่งได้ที่นี้ค่ะ ส่วนการเพิ่ม Shipping method ใหม่ๆเข้าไปใช้งานกับ WooCommerce นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้ค่ะ
ภาษีขาย (Sale Tax)
สำหรับ WooCommerce มีหน้า settings ให้คุณกำหนดภาษีขายได้ โดยให้กำหนดเป็นเปอร์เซ็น เช่น สินค้าและบริการในไทย คิดภาษีขายที่ 7% เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดได้อีกว่า ต้องการให้แสดงภาษีขายรวมกับราคาขายที่หน้าเว็บไซต์, Cart page และ Check out page ไหม
ระบบชำระเงิน (Payment methods)
สำหรับ WooCommerce จะมี Payment methods มาให้แล้ว 4 method ด้วยกันคือ
- Direct bank transfer (ลูกค้าต้องแจ้งการชำระเงินตาม Order ให้ทางร้านเอง)
- Check payments (ในไทยไม่นิยมใช้ method นี้)
- Cash on delivery
- Paypal Standard (ต้องไปเก็บ API credentail จาก Paypal account ของคุณมา เพื่อใส่ใน WooCommerce settings หากคุณต้องการรับชำระบัตรเครดิตผ่าน Paypal ด้วยคุณต้องมี Business Paypal Account)
หากคุณต้องการเพิ่ม Payment methods ใหม่ๆ เข้าไปใน WooCommerce คุณสามารถซื้อปลั๊กอินที่มี Payment method ที่คุณต้องการมาติดตั้งได้ หรือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สร้างให้คุณค่ะ
ตัวอย่างการตั้งค่า default Payment methods และการเพิ่ม Payment method ใหม่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ค่ะ
ระบบสมาชิก (Member)
ระบบสมาชิกที่มากับ WooCommerce ปลั๊กอินนั้นเป็นระบบพื้นฐาน คือ เมื่อผู้ซื้อลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้ว สมาชิกสามารถดูประวัติรายการสั่งซื้อ และแก้ไข User Profile ได้แค่นั้น หากคุณต้องการให้ระบบสมาชิกคุณมี funtionalities ที่มากกว่านี้ เช่น สะสมแต้มได้ มีส่วนลด ต้องซื้อปลั๊กอินมาติดตั้งเพิ่มค่ะ หรือจะจ้างให้นักพัฒนาเว็บไซต์สร้างระบบให้คุณก็ได้
ระบบแจ้งเตือนใน WooCommerce
ระบบแจ้งเตือนใน WooCommerce จะเป็นการแจ้งเดือนผ่าน Email ทั้งหมด การแจ้งเตือนในที่นี้เช่น ลูกค้าสร้าง New Order เว็บไซต์จะมีการส่งอีเมลแจ้งมาที่ Admin ของเว็บไซต์ เป็นต้น หากคุณต้องการแจ้งเตือนผ่าน LINE notify ด้วย คุณต้องซื้อปลั๊กอินมาติดตั้งเพิ่มค่ะ สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LINE notify plugin ได้ที่นี่ค่ะ
สถานะใบสั่งซื้อสินค้า (Order Status)
สำหรับ WooCommerce จะมี Order Status มาให้ใช้คือ Canceled, Completed, Failed, On Hold, Pending Payment, Processing, Refunded
คุณสามารถสร้าง Order Status ใหม่ได้โดยซื้อปลั๊กอินมาติดตั้ง หรือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สร้างให้คุณ
WooCommerce Order Status Manager plugin ปลั๊กอินสร้าง Custom Order Status
How to create WooCommercr custom order status โค็ดในการสร้าง Custom Order Status
ระบบติดตามขนส่ง (Shipping Tracking Number)
สำหรับ WooCommerce คุณสามารถนำ Shipping Tracking Number ที่ได้จาก Shipping provider มาใส่ในระบบหลังบ้านของแต่ละ Order ที่ช่อง Order Note ได้ หลังจากนั้นคุณจะต้องแจ้งลูกค้าด้วยว่า Tracking number อะไร หรือให้ลูกค้าคอย Login เพื่อเข้าไปดู Tracking Number สำหรับ Order ที่สั่งซื้อเองก็ได้
แต่ถ้าคุณต้องการความสะดวกสบายสำหรับคุณและลูกค้าในการแจ้งเตือน Tracking Number คุณสามารถซื้อปลั๋กอินมาติดตั้งเพิ่มได้ คุณสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ระบบติดตามขนส่ง ได้ที่นี้ค่ะ
ภาษาและสกุลเงิน (Language and Currency)
WordPress สามารถตั้งค่าได้เพียงภาษาเดียว และติดตั้งสกุลเงินสำหรับ WooCommerce ได้เพียงสกุลเงินเดียวเช่นกัน แต่หากคุณต้องการให้เว็บไซต์เปลี่ยนได้หลายภาษา และหลายสกุลเงิน คุณต้องซื้อปลั้กอินมาติดตั้งเพิ่ม เช่น WPML plugin หรือ Translatepress plugin
ตัวอย่างบทความการติดตั้ง Multi-currency และ Multilingual sites with WooCommerce
สรุป
หลังจากคุณอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะเห็นภาพว่า WooCommerce plugin มี features อะไรให้คุณมาแล้วบ้าง แล้วมี features ไหนที่คุณต้องไปหาซื้อปลั๋กอินมาติดตั้งเพิ่ม สำหรับปลั๊กอินที่ซื้อมา โดยส่วนมากจะเป็นการจ่ายรายปีพร้อมการ Update ของ plugin ทุกปี และโดยมากซื้อ 1 license plugin จะใช้ได้เพียง 1 domain name เท่านั้น สำหรับการจ้างนักพัฒนาเว็บไซต์มาเขียนโค้ดเพิ่ม features ให้คุณ ราคาจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายและระยะเวลาในการพัฒนา features นั่นๆ ส่วนมาก feature หนึ่ง feature ที่นักพัฒนาเว็บไซต์เขียนโค็ดให้คุณจะเริ่มต้นด้วยหลักหมื่นบาท เป็นต้น ดังนั้นคุณอาจต้องพิจารณาว่า คุณจะเลือกซื้อปลั๊กอินมาติดตั้ง หรือจ้างนักพัฒนาเว็บไซต์มาเขียนโค้ดเพื่อเพิ่ม features ใหม่ๆให้กับเว็บไซต์คุณ